วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การมัคคุเทศก์

         

ประวัติความเป็นมาของอาชีพมัคคุเทศก์                            

มัคคุเทศก์ความหมายว่า ผู้นำทาง ผู้ชี้ทางหรือผู้บอกทาง เป็นคำที่เริ่มคุ้นเคยภายหลังจากที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มเติบโตเป็นอย่างมาก(ตั่งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา) ในอดีตการเดิน ทางมักไม่พึ่งพาอาศัยมัคคุเทศก์ เนื่องจากเป็นการเดินทางที่เน้นการแสวงหาดินแดนใหม่ แสวงหา สภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากเดิม หรือเป็นการแสวงหาความเชื่อส่วนบุคคล การเดินทางสมัย  ก่อนจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวได้อย่างจริงจังเต็มที่นัก กล่าวคือรูปแบบของ พาหนะการเดินทางแบบตามมีตามเกิดถนนหนทางก็ไม่ดีไม่มีป้ายบอกทางที่ชัดเจน คนที่จะเป็นผู้ นำทางก็ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมสรรพเหมือนเช่นปัจจุบัน จากในอดีตผู้ที่จะมาเป็นผู้นำทางจะ ต้องสามารถสังเกตดวงดาวบนท้องฟ้าและทิวทัศน์สองข้างทางเป็นตัวนำทางไปในทิศทางที่ต้องการ ต่อมาก็มีการทำแผนที่ และนำเข็มทิศมาช่วยซึ่งก็ทำให้การนำทางและการเดินทางเป็นไปได้อย่าง สะดวกขึ้น และหลังจากที่มีการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางภาคพื้นดิน ทางน้ำ ทางอากาศทำให้เกิด การเดินทางกันมากขึ้น มีการบันทึกการเดินทางบรรยายลักษณะสถานที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประกอบการเดินทาง ระยะทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และข้อมูลอื่นๆอีกมากมายซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถนำมาประกอบกันเป็นตัวนำทางได้เป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางแก่ คนรุ่นหลังมากขึ้น และหลังจากการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ของโลกมีความชัดเจน มีการจัดทำเป็น แผนที่ เอกสารหนังสือตำราเพื่อเอื้อแก่การเดินทางมากกว่าแต่ก่อน การเดินทางเพื่อศึกษาสภาพภูมิศาสตร์จึงน้อยลง แต่จะเกิดการเดินทางเพื่อศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและสิ่งต่างๆ ที่สร้างสรรค์จากมนุษย์รวมถึงเดินทางเพื่อหาความสุขจากการได้ชื่นชมธรรมชาติอันสวยงาม ที่ซ่อนเร้นอยู่แทน เช่นเดียวกับวิวัฒนาการของมัคคุเทศก์ที่มีการพัฒนาก้าว หน้าเป็นรูปแบบที่ชัด เจนขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นส่วนประกอบจำเป็นที่แทบขาดไม่ได้ของการเดินทางท่องเที่ยวในปัจจุบัน
อาชีพมัคคุเทศก์ของโลกมีจุดเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อได้มีการนำเที่ยวเป็นกลุ่มของบริษัทการท่องเที่ยวต่างๆ ในทวีปยุโรป โดยเริ่มมีการนำเที่ยวเป็นกลุ่มตั่งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่19 เมื่อบริษัท โธมัส คุ๊ก(Thomas Cook) จัดนำเที่ยวทางรถไฟในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้ขยายไป ยังที่อื่นๆ ซึ่งในการนำเที่ยวให้กับแก่คนเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีมัคคุเทศก์คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ ซึ่งรวมไปถึงตามสถานการณ์ที่สำคัญ ๆ ในบางแห่งที่มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมเสมอ ๆ ก็มักจะจัดหาคนที่มีความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่นั้นเพื่อคอยอธิบายให้นักท่องเที่ยวทราบด้วยเช่นกัน
ในส่วนของประเทศไทย อาชีพมัคคุเทศก์ได้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระ ยะนั้นมีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก ทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องในวง การทหาร ที่สำคัญคือบรรดาทหารอเมริกันที่อยู่ประจำ และที่มาพักผ่อนจากการรบในสงครามเวียดนาม ซึ่งก็เป็นผลดีและถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอุสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างแท้จริง มีบริษัทนำเที่ยวเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดย เฉพาะในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ใกล้จุดยกพลขึ้นบกของทหารอเมริกัน และเขตกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงส่วนต่าง ๆ ที่มีทหารพลเรือนชาวต่างประเทศประจำอยู่และสัญจรไปมา แม้ว่าสงครามจะยุติแล้ว แต่นักท่องเที่ยวจากส่วนต่างๆของโลก
ทั้งชาวยุโรป อเมริกัน อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย รวมทั้งชาวเอเชีย ต่างก็เดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย จากการบอกเล่าต่อ ๆ กันไปของคนที่เคยมาเที่ยวเมืองไทย ซึ่งการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ ดังกล่าวทำให้บริษัทนำเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เกิดความต้องการมัคคุเทศก์ที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี ญี่ปุ่น และภาษาจีน ผู้ที่มีพื้นฐานของแต่ละภาษาจึงเข้ามามีบทบาทในการนำเที่ยวในยุคแรก แต่ในความเป็นจริงนั้นสถานภาพของมัคคุเทศก์ยังไม่เป็นที่รับรอง เป็นอาชีพที่ทำกันได้อย่างเสรีและยังไม่มีพระราชบัญญัติมาบังคับควบคุมแล้วคุ้มครอง บุคคลที่จะมาประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้สูง เพียงแต่มีความรู้ในภาษาของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะภาษาอังกฤษพอพูดสื่อสารได้ก็อาจเป็นมัคคุเทศก์ได้แล้ว จนกระทั่งปี พ.ศ.2502 รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตั่งองค์การสงเสริมการท่องเที่ยว(อสท.) ขึ้น เป็นองกรอิสระเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ อาชีพมัคคุเทศก์จึงเริ่มมีสถานภาพที่ชัดเจนขึ้นเพราะช่วงที่ อสท. เกิดขึ้นใหม่ ๆ นั้น มัคคุเทศก์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในอุสาหกรรมท่องเที่ยว หลายฝ่ายจึงเห็นความจำเป็นและความสำคัญในความมีมาตรฐานของการเป็นมัคคุเทศก์ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว(โดยพลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ ผู้อำนวยการ อสท. ในขณะนั้น) จึงได้รวมมือกับจุฬาลงกรณ์วิทยาลัยทำหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จุฬาลงกรณ์วิทาลัยในปี พ.ศ.2504 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ในระยะแรกได้กำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเป็นบุคคลทั่วไปที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การอบรมมัคคุเทศก์นี้เป็นที่ได้รับความสนใจ มีผู้สมัครเข้ารับการอบรมมากเกินกว่าที่จะรับได้หมด จึงต้องมีการสอบคัดเลือก และต้องจัดอบรมติดต่อกันมาเป็นระยะ ๆ หลายรุ่น และขยายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย แต่โดยมากผู้ผ่านการอบรมส่วนใหญ่มักไม่ได้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ และผู้ที่ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ส่วนมากก็ไม่ได้สนใจที่จะเข้ารับการอบรม
ช่วงปี พ.ศ.2520 สำนักพระราชวัง ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการนำชมพระราชฐาน ให้มีการขอบัตรอนุญาต ซึ่งจะต้องใช้ประกาศนียบัตรมัคคุเทศก์ ที่ อสท. และสถาบันระดับอุดมศึกษาเป็นผู้จัดอบรมออกให้เป็นหลักฐานในการขอรับบัตรดั่งกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้การจัดนำชมและการบรรยายเกี่ยวกับสถานที่สำคัญเป็นไปด้วยความถูกต้อง นับแต่นั้นการอบรมมัคคุเทศก์ก็มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่จะประกอบอาชีพมัคคุเทศก์โดยถูกต้อง และหลังจาก อสท. ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ต่อเนื่องกันถึง 6 รุ่น ในระยะเวลาเพียง 2 ปี และได้เพิ่มความถี่ในการจัดอบรมจากปีละหนึ่งรุ่นสลับกันระหว่าง จุฬาฯ และศิลปากร เป็นปีละสองรุ่น นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้จัดอบรมในหลักสูตรปริญญาตรี ซึงนักศึกษาเป็นผู้เลือกเรียนและถ้าสอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรมัคคุเทศก์พร้อมกับปริญญาตรีด้วย จากนั้นภาควิชาศิลปาอาชีพคณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้จัดอบรมในหลักสูตรให้นักศึกษาภาควิชาดังกล่าวพร้อมกันนี้ก็ได้จัดอบรมหลักสูตรวิชาการท่องเที่ยวสำหรับบัณฑิตรองาน ซึ่งได้ช่วยผลิตมัคคุเทศก์ระดับ
มหาลัยวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาลัยบูรพา  สถาบันราชภัฎ  และสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐบาล และเอกชนอีกหลายสถาบันและหลังจากการที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ดำเนินการช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเป็นจำนวนมากทำให้เริ่มเกิดปัญหาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์  เช่น มีมัคคุเทศก์เถื่อน มัคคุเทศก์ขาดตลาด(ในบางภาษา) ที่สำคัญเกิดปัญหามัคคุเทศก์ขาดคุณภาพ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้จัดให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ร่วมกันสัมมนาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าว และทราบถึงปัญหาการขาดคุณภาพของมัคคุเทศก์  และทราบถึงความต้องการและคุณสมบัติของมัคคุเทศก์ที่ผู้ประกอบ0การพึงประสงค์อย่างแท้จริง  และพบว่าการได้มาซึ่งบัตรมัคคุเทศก์ที่มีอยู่เดิมนั้นง่ายเกินไปการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการมากขึ้น  มีการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตการให้บัตรยากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัตรบรอนซ์เงิน(มัคคุเทศก์ทั่วไป-ต่างประเทศ) เพราะถือว่าเป็นบัตรที่ครอบคลุมการทำงานมากที่สุด  ซึ่งในทางปฏิบัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประสานงานจัดให้มีหลักสูตรมาตรฐานการอบรมมัคคุเทศก์  โดยวิธีหนึ่งจะมอบให้สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศที่มีความพร้อมนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช่ดำเนินการเปิดอบรม อีกวิธีหนึ่งก็ให้นักศึกษาปกติที่เรียนปริญญาตรีสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เรียนได้ครบถ้วนในรายวิชาที่กำหนดตามหลักสูตร มาตราบานงานอบรม  และดำเนินการเทียบรายวิชาที่เรียนกับท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทั้งสองวิธีต้องผ่านการออกฝึกปฏิบัติภาคสนามตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยบังคับจนครบ  เมื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวแล้ว สุดท้ายต้องมาทดสอบมาตรฐานภาษาต่างประเทศ(แต่ละภา)  เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ภาษาแล้ว ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  แล้วจึงประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานภาษาต่างประเทศ(แต่ละภาษา) ก็จะได้รับบัตรบรอนซ์ทอง(มัคคุเทศก์ทั่วไป-ไทย)แทน

ความสำคัญของมัคคุเทศก์
       มัคคุเทศก์นับว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นความสำคัญที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ต่อสังคมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ต่อนักท่องเที่ยว เป็นผู้ชี้แนะอธิบายสิ่งต่างๆสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นระหว่างนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ตอบคำถามทุกอย่างที่นักท่องเที่ยวสงสัยอยากรู้ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายอุ่นใจ และป้องกันดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงด้วยดี โดยต่อไปนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อสิ่งต่างๆดังนี้
1.              ความสำคัญของมัคคุเทศก์ต่อบริษัทนำเที่ยว
                             เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเที่ยวอำนวยความสะดวกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทนบริษัทนำเที่ยว
เป็นผู้รักษาผลประโยชน์ในด้านต่างๆแทนบริษัทนำเที่ยว เช่น ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวการถูกเอารัดเอาเปรียบจากสถานประกอบการ
                        เป็นผู้ที่จะสร้างชื่อเสียง และคอยโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้กับบริษัทนำเที่ยวที่ตนสังกัดให้นักท่องเที่ยวทราบ
                        เป็นตัวแทนของบริษัทนำเที่ยว ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ร้านสินค้าที่ระลึก บริษัทนำเที่ยวอื่นๆฯลฯ
                        เป็นผู้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหารตลอดจนข้อมูลสถานที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่เป็นปัญหา ข้อควรแก้ไข ข้อเสนอแนะในการนำเที่ยวแต่ละครั้งมารายงานให้บริษัทนำเที่ยวทราบ เพื่อให้บริษัทนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขการบริการต่อไป
บัณฑิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนในต่างจังหวัดหลักสูตรมัคคุเทศก์ก็ได้รับความสนใจ และได้เริ่มจัดการอบรมตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยเริ่มจากภาคเหนือตอนบน ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่างโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ภาคใต้ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งหลักสูตรการอบรมได้พัฒนาปรับปรุงตลอดมา ทั้งในด้านเนื้อหาวิชา และภาษาต่างประเทศ แต่เดิมมีเฉพาะภาษาอังกฤษก็เริ่มเพิ่มการอบรมในภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ และเนื่องจากแนวโน้มการเจริญเติบโตของอุสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐลาบเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยพื้นฐานทางการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการที่ต้องส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับปรุง อำนาจหน้าที่ของ อสท. ให้สามารถดำเนินการดังกล่าวข้างต้นได้ รัฐลาบจึงประกาศพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ยกฐานะ อสท. เป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อว่า ททท. ให้อำนาจในการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุนหรือร่วมทุน เพื่อริเริ่มการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว มีการบรรจุแผนพัฒนาการท่องเที่ยวครั้งแรกไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) ส่งผลให้อุสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศสูงสุด เมื่อเทียบกับสินค้าออกประเภทอื่น ๆ  จนเป็นเหตุให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับต่อ ๆ มาถึงฉบับปัจจุบันก็ได้รับบรรจุแผนพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ด้วยเสมอ(วิริยาภา ช่างเรียน 2541: 3-5)
จากความสำคัญของอุสาหกรรมการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ดังกล่าว ทำให้เกิดพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 ขึ้น เพื่อควบคุมผู้ที่ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้ยึดถือปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นไปอย่างเรียบร้อย ใจความสำคัญของพระราชบัญญัตินี้คือ ผู้ที่จะประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ จะต้องมีใบอนุญาตการเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับรอง และมัคคุเทศก์ทุกคนต้องติดบัตรมัคคุเทศก์เวลาปฏิบัติงานเสมอ ซึ่งมัคคุเทศก์นับเป็นอาชีพสงวน 1 ใน 39 อาชีพที่มีไว้เฉพาะสำหรับคนไทย ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522 และตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความภูมิใจให้แก่ตัวผู้เป็นมัคคุเทศก์ เนื่องจากต้องเป็นผู้นำคนอื่นเปรียบเสมือนการเป็นตัวแทนของประเทศชาติ คนที่จะเป็นมัคคุเทศก์ได้ต้องมีความสามารถ มีความรู้รอบตัว สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นอาชีพที่มีหน้ามีตา หลายคนใฝ่ฝันที่จะประกอบอาชีพนี้เนื่องจากเป็นอาชีพที่รายได้ดีผลตอบแทนสูงได้ทำงานพร้อม ๆ กับการได้ท่องเที่ยว ซึ่งหาได้น้อยนักในอาชีพทั้งหมดในปัจจุบัน
ในช่วงระยะเวลาหลังนี้สถาบันการศึกษาใดต้องการเปิดอบรมมัคคุเทศก์ก็ต้องทำให้เป็นโครงการเสนอ ให้ผ่านความเห็นชอบจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และให้ดำเนินการอบรมโดยถือเป็นความร่วมมือกันระหว่างสถาบันศึกษานั้นกับการท่องท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการผลิตมัคคุเทศก์ ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เปิดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เพิ่มมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.ความสำคัญของมัคคุเทศก์ต่อนักท่องเที่ยว
   2.1   มัคคุเทศก์จะเป็นผู้อธิบายประวัติข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจ  คอยตอบข้อซักถามจากนักท่องเที่ยว เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวได้ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในครั้งนั้น ๆ
   2.2   นักท่องเที่ยวจะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้จ่ายในการใช้จ่ายในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว  เนื่องจากมีมัคคุเทศก์คอยอธิบายให้ข้อมูลอยู่แล้ว
   2.3   มัคคุเทศก์ก็เป็นผู้สร้างกิจกรรมระหว่างการเดินทางให้เกิดความสนุกสนานในการท่องเที่ยวสร้างสวรรค์การเดินทางให้มีชีวิตชีวาทำให้นักท่องเที่ยวได้แสดงออกอย่างมีความสุข  ได้ผ่อนคลายไม่เบื่อหน่ายในการท่องเที่ยว ทำให้การท่องเที่ยวครั้งนั้นประทับใจฝังใจมากกว่า
   2.4   นักท่องเที่ยวได้ท่องเที่ยวด้วยความปลอดภัยมากกว่า  เนื่องจกมัคคุเทศก์จะเป็นผู้คอยดูแลตักเตือนไม่ให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังในการท่องเที่ยวในจุดที่ควรระวัดระวังหรืออาจเป็นอันตราย
   2.5   นักท่องเที่ยวจะลดความเสี่ยงจากความไม่รู้ไม่เข้าใจในการท่องเที่ยวเช่น  ลดความเสี่ยงในการหลงทางหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เมื่อมัคคุเทศก์คอยชี้แนะอยู่
   2.6   มัคคุเทศก์จะเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในแทบทุกๆ เรื่อง เช่น  ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้า ออกประเทศ ช่วยต่อรองราคาสินค้า เก็บรักษาพาสปอร์ตแทนนักท่องเที่ยว  ช่วยขนสัมภาระ  เป็นต้น
   2.7   มัคคุเทศก์ทำให้ท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้อย่างทั่วถึง  ไม่ละเลยต่อสิ่งที่ควรรู้
   2.8   มัคคุเทศก์จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทนนักท่องเที่ยว   เช่น  ถ้านักท่องเที่ยวทำพาสปอร์ตหาย ก็ช่วยติดต่อไปยังสถานฑูต  หรือกรณีนักท่องเที่ยวเกิดเจ็บป่วยก็ต้องดูแลรักษาพาส่งโรงพยาบาล เป็นต้น
   2.9   มัคคุเทศก์เป็นผู้คอยรักษาเวลาอันมีค่าแก่นักท่องเที่ยว  ให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวตามโปรแกรมที่ระบุ จัดสรรเวลาการท่องเที่ยวแต่ละจุดได้อย่างเหมาะสม
3.ความสำคัญของมัคคุเทศก์ต่อแหล่งท่องเที่ยว
   3.1   มัคคุเทศก์เป็นผู้ที่คอยดูแลเอาใจใส่คุ้มครองอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทุก ๆ ที่ซึ่งเปรียบเสมือนแล่งสร้างงานสร้างอาชีพของตนแทนเจ้าหน้าที่ของแหล่งท่องเที่ยวซึ้งบางจุดเจ้าหน้าที่อาจดูแลไม่ทั่วถึง
   3.2   มัคคุเทศก์เปรียบเสมือนตัวแทนของแหล่งท่องเที่ยวในการทำหน้าที่ผู้นำท่องเที่ยว  ในการทำหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวเป็นผู้สร้างภาพพจน์และสร้างความงามเข้าใจอันดีระหว่างนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว  และแนะนำชักชวนนักท่องเที่ยวให้เที่ยวอย่างถูกวิธีไม่ทำลายทรัพยากรการท่องเที่ยว
   3.3   แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่อยู่นอกเหนือความสนใจโดยอาจเข้าถึงได้ยากลำบาก  แต่มีความสวยงาม  ก็ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์จากมัคคุเทศก์ด้วยเช่นกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น